ไขข้อข้องใจวิธีย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
“จะดีแค่ไหน หากย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์สามารถทำได้บนโทรศัพท์มือถือ ?”
ในยุคที่มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันและช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัย ทั้งในโซนบ้านกรุงเทพ โซนบ้านชลบุรี หรือไม่ว่าจะโซนไหนก็ตาม หากการติดต่อขอย้ายทะเบียนบ้านสามารถทำได้ในระบบออนไลน์จะสามารถช่วยลดเวลาในการดำเนินการต่างๆ และเพิ่มเวลาส่วนตัวให้กับคุณได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการจองคิวเข้ารับบริการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ล่วงหน้า ! พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ที่มีข้อมูลครบ จบในรวดเดียว
ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้หรือไม่ ?
การย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์หรือแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์นั้นเราสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ในการจองคิวเพื่อนัดวันและเวลาในการเข้าไปยังสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในพื้นที่นั้นเพื่อดำเนินการทางด้านเอกสารต่างๆ ได้ ซึ่งถือเป็นมาตรการการจัดการเวลาให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่มีความจำเป็นจะเข้ามาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านโดยไม่ต้องมานั่งต่อคิวหรือมาที่สำนักงานเขตตั้งแต่เช้านั่นเอง ซึ่งรูปแบบการย้ายทะเบียนบ้านนั้นมีทั้งหมด 2 รูปแบบด้วยกัน โดยจะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ตามไปทำความเข้าใจกันก่อนเลย
รูปแบบการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเกิดขึ้นเมื่อไหร่…?
การย้ายทะเบียนบ้านจะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีความจำเป็นจะต้องย้ายบ้านจากที่พักอาศัยเดิมไปยังที่พักอาศัยใหม่ เช่น การย้ายจากบ้านแหลมฉบัง ไปบ้านอมตะนคร โดยการย้ายทะเบียนบ้านไปที่นั้นๆ ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ต่างๆ ทั้งการเลือกตั้งภายในเขต ความจำเป็นที่ต้องการให้บุตรหลานของคุณเขาสถานศึกษาในบริเวณนั้น หรือสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลตามทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งการเลือกย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ในแต่ละกรณี มีทั้งหมด 2 รูปแบบคร่าวๆ ดังนี้
1. ย้ายออก - ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน
การย้ายทะเบียนบ้านออกและย้ายเข้าทะเบียนบ้าน เป็นวิธีการพื้นฐานในการย้ายทะเบียนบ้านทั่วไป ซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่าจากการที่ต้องเตรียมเอกสารและยื่นต่อนายทะเบียนทั้งบ้านที่ต้องการย้ายออกและบ้านที่ต้องการย้ายเข้า ด้วยเหตุนี้การย้ายทะเบียนบ้านวิธีนี้จึงไม่เป็นที่นิยมนักเมื่อเทียบกับวิธีย้ายทะเบียนปลายทางออนไลน์ที่สามารถทำได้ง่ายกว่า การย้ายออกและย้ายเข้าส่วนมากจะเป็นการย้ายทะเบียนออกจากบ้านและย้ายเข้าในทะเบียนบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกัน โดยแต่ละวิธีมีการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ดังนี้
การย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม
หากคุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม จะต้องจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ( กรณีผู้แจ้งแย้งไม่ใช่เจ้าบ้าน )
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทน ( กรณีได้รับการมอบหมายจากเจ้าบ้าน )
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ต้องการจะย้าย ( กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตัวเอง )
และนำเอกสารเหล่านี้ส่งมอบให้นายทะเบียนในท้องที่บ้านหลังเดิมเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบให้เสร็จสิ้น โดยจะต้องมีการประทับคำว่า ‘ย้าย’ บนหน้าเอกสารจากนายทะเบียน
การย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่
หากคุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่ จะต้องจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ( กรณีผู้แจ้งแย้งไม่ใช่เจ้าบ้าน )
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทน ( กรณีได้รับการมอบหมายจากเจ้าบ้าน )
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ทั้งตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าบ้านคนใหม่ว่าสามารถย้ายเข้าได้
โดยนำเอกสารเหล่านี้ส่งมอบให้นายทะเบียนในท้องที่พื้นที่ใหม่เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบให้เสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะได้รับใบแจ้งการย้ายที่อยู่และได้รับการเพิ่มชื่อเข้าไปยังทะเบียนบ้านหลังใหม่
ซึ่งการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิมจะไม่สามารถทำการจองคิวออนไลน์ได้ กลับกันการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่จะสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการจองคิวผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้
2. ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความสะดวกโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านที่ซ้ำซ้อนและมีความยุ่งยาก แต่การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีข้อจำกัดเล็กน้อยในเรื่องการย้ายบ้านนั่นคือคุณต้องย้ายออกจากเขต อำเภอ หรือจังหวัดก่อน จึงจะสามารถใช้วิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้ เช่น หากคุณอยู่ในเขตบ้านบางพระ คุณต้องย้ายออกจากเขตนั้นๆ ก่อน จึงจะสามารถย้ายเข้าที่ไหมได้ โดยการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์นี้จะเป็นการที่คุณสามารถจองคิวเพื่อนัดวันและเวลาในการเข้าไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอได้
ขั้นตอนสำหรับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางทางออนไลน์
ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์มีความสะดวกสบายมากกว่าการแจ้งย้ายเข้า-ออกทะเบียนบ้านก่อนหน้า เนื่องจากจะสามารถทำการจองคิวเพื่อนัดวันและเวลาที่จะเข้าไปติดต่อกับนายทะเบียน ซึ่งระยะเวลาในการนัดจะสามารถจองได้ล่วงหน้า 15 วัน และช้าสุดไม่เกิน 16.00 น. ก่อนวันเข้ารับบริการ โดยการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์นั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอน 3 STEP ที่เรานำมาฝาก
STEP 1 จองคิวทะเบียนบ้านปลายทางทางออนไลน์
ไม่ว่าคุณจะต้องการดำเนินเอกสารใดๆ ก็ตามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ขั้นตอนแรกสุดที่ต้องทำคือการจองคิวเพื่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจองคิวในช่วงก่อนหน้าจะเป็นการแจกคิวให้กับคนที่ไปถึงได้เร็วที่สุดและเรียงตามลำดับ ทำให้ผู้คนรู้สึกเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ปัญหานี้จึงถูกหยิบยกมาให้แก้ไขได้ด้วย 2 รูปแบบการจองคิวย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ดังนี้
จองคิวผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
เราสามารถทำการจองคิวเพื่อแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการเลือกเข้าสู่เว็บไซต์ https://q-online.bora.dopa.go.th/ หรือค้นหาคำว่า ‘ลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า’ จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย บนหน้าเว็บไซต์นี้คุณจะสามารถเลือก Login หรือเข้าสู่ระบบใช้งานด้วยการกรอกข้อมูลไม่ว่าจะเป็น เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์ หรือหากคุณใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถเลือก Login ผ่านการแอปพลิเคชันนี้ได้ เมื่อคุณเข้าสู่ระบบมาแล้วทำการเลือกที่ปุ่มเมนู เพื่อทำการเลือกระบบนัดหมายรับบริการ และระบุจังหวัด อำเภอ สำนักทะเบียน งานบริการที่ต้องการ และวันที่ที่คุณสะดวกเข้ารับบริการ
จองผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )
กรมการปกครองได้มีการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งจะหนึ่งในตัวช่วยให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์สะดวกสบายยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน D-DOPA ได้ด้วยการดาวน์โหลดลงบนโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้ารับบริการจากทางสำนักงาน โดยขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA มีดังนี้
ขั้นตอนการดาวน์โหลดเพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D-DOPA
แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถรองรับบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการ IOS และ Android โดยผู้ใช้งานควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าโทรศัพท์มือถือของคุณใช้ระบบปฏิบัติการแบบใด แล้วจึงเลือกติดตั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้
- กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ IOS สามารถเข้ายัง App Store ทำการค้นหา D-DOPA จากนั้นจึงเลือก Install ( ติดตั้ง ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน
- กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ Android สามารถเข้าไปยัง Gooogle Play Store ทำการค้นหา D-DOPA แล้วจึงเลือกติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน
- ลงทะเบียนเข้าใช้งาน
เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของคุณแล้วเริ่มต้นเข้าสู่ขั้นตอนการลงเทียนเพื่อเข้าใช้งานโดยสามารถดำเนินการได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
- กดเริ่มต้นเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )
- ในการเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตนด้วยการนำบัตรประชาชนใบล่าสุดไปแจ้งยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน ณ สำนักงานเขตในท้องที่
- เมื่อได้รับการยืนยันตัวตนจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตแล้วทำการเปิดแอปพลิเคชัน D-DOPA ขึ้นอีกครั้ง พร้อมทั้งกดอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องมือและระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของตนเองให้ถูกต้อง
- อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขในการให้บริการให้เรียบร้อยและกดยอมรับ
- สแกน QR Code ในแอปพลิเคชัน D-DOPA
- ระบบจะทำการแจ้งเตือนให้กำหนดตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ จำเป็นต้องกรอกรหัสผ่านทั้ง 2 ครั้งให้ตรงกัน
- ระบบจะทำการแจ้งเตือนขอยินยอมอีกครั้ง โดยจะต้องระบุรหัสผ่านเพื่อทำการอัพโหลดข้อมูลลงแอปพลิเคชันของตน
- เมื่อการลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้วหน้าจอจะแสดงสถานะการสมัครสำเร็จ
ฟังก์ชันการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
เมื่อทำการลงทะเบียนเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการกรอกรหัสประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก และเลือกไปคำสั่งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้ทันที หลังจากนั้นคำสั่งยินยอมจะขึ้นแจ้งเตือนไปยังเจ้าบ้านตามที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้าน ซึ่งตัวเจ้าบ้านมีสิทธิ์ในการยินยอมหรือไม่ในการรับลูกบ้านให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เข้ามาอยู่ร่วมกัน
ฟังก์ชันอื่น ๆ นอกจากการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
นอกจากฟังก์ชันในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์แล้ว แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่ช่วยตอบโจทย์แก่ผู้ใช้งานที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้บริการกับสำนักงานเขตไม่ว่าจะเป็น
✔ การตรวจสอบข้อมูลคนเองที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้จัดเก็บข้อมูล
✔ ระบบจองคิวขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า
✔ การตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น
✔การแจ้งเหตุจำเป็นหากไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
✔ การตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. เป็นต้น
ถือได้ว่าแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เป็นอย่างมาก ด้วยฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ในเรื่องการจองคิวเพื่อเข้ารับบริการกับทางสำนักงาน และสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ในวันที่คุณสะดวกโดยไม่ต้องลางานเพื่อไปยังสำนักงานเขต สะดวกสบาย ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่สุดๆ
STEP 2 เตรียมเอกสารสำหรับย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์
ขั้นตอนต่อมาคือการเตรียมเอกสารต่างๆ หลังการจองคิวในการนัดวันและเวลาเพื่อเข้ารับบริการกับทางสำนักงานเขตในท้องที่ ซึ่งผู้ที่จะทำการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์หรือแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์นั้นจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วนเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
เอกสารที่ใช้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
ในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์นี้มีเอกสารสำคัญที่จำเป็นจะต้องเตรียมก่อนนำไปให้กับนายทะเบียนของสำนักงาน ซึ่งการเตรียมเอกสารสามารถแบ่งออกได้ 2 กรณีขึ้นอยู่กับว่าใครคือผู้ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
กรณีเป็นเจ้าบ้านทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
สำหรับกรณีนี้จะเป็นกรณีของตัวเจ้าบ้านทำการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยตัวเอง มีเอกสารที่ต้องเตรียมไปคือ
- บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน ( ในกรณีผู้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีมากกว่า 1 คนขึ้นไป ต้องนำบัตรประชาชนของทุกคนที่มีชื่อในการกู้ร่วมกันมายังสำนักงานเขตเพื่อดำเนินการ )
- หนังสือยินยอมในการเป็นเจ้าบ้าน ( กรณีเป็นการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยร่วมกัน )
- หนังสือสัญญาซื้อบ้าน หรือโฉนดที่ดิน
- เล่มทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
กรณีเป็นลูกบ้านหรือผู้อยู่อาศัยย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
สำหรับกรณีนี้จะเป็นกรณีที่ผู้อยู่อาศัยหรือลูกบ้านทำการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยตัวเอง มีเอกสารที่ต้องเตรียมไปคือ
- สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
- บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
- บัตรประชาชนของผู้แจ้งย้าย
- หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน ( กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายด้วยได้ )
- หนังสือมอบหมายจากผู้ย้าย บัตรประชาชน และสำเนาทั้งสองฉบับลงลงชื่อกำกับ ( กรณีผู้ย้ายไม่สามารถมาแจ้งได้ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน เช่น เครือญาติ ผู้มีนิติสัมพันธ์ คนรู้จักหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย )
STEP 3 นำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานเขต
ขั้นตอนสุดท้ายในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ เมื่อทำการเตรียมเอกสารต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วนำเอกสารที่เตรียมไปยังสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ โดยไปให้ตรงกับวันที่ตนได้ทำการจองคิวขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้าไว้แล้วตามเวลาที่กำหนด และปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
- ยื่นเอกสารที่จัดเตรียมมาต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
- นายทะเบียนที่รับเอกสารไปจะทำการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ และลงรายละเอียดการขอย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ โดยต้องลงชื่อทั้งช่องการย้ายออกและย้ายเข้า
- ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 10 นาทีจึงแล้วเสร็จ โดยไม่จำเป็นต้องทำการแจ้งไปยังสำนักงานเขตในพื้นที่เดิมของบ้านที่ทำการย้ายมาในก่อนหน้า
ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ที่ทาง มณีรินทร์ พร็อพเพอร์ตี้ ผู้นำเรื่องอสังหาริมทรัพย์บ้านจัดสรรชลบุรี คุณสามารถเลือกรับบริการต่างๆ จากสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอผ่านช่องทางต่างๆ ได้ตามความสะดวกที่จะย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ของคุณ
หลังจากนี้จะเป็นช่วงตอบปัญหา ไขข้อสงสัยสำหรับใครที่อยากทราบเพิ่มเติมเรื่องย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
รวมคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
คำถามที่รวบรวมมาในวันนี้เป็นคำถามคาใจที่เชื่อว่าใครหลายๆ คนคงรู้สึกสงสัยไม่แพ้กันเกี่ยวกับการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ มณีรินทร์ พร็อพเพอร์ตี้ คัดคำถาม 5 ข้อ ที่จะแก้ข้อสงสัยนั้นให้แก่คุณ จะมีคำถามไหนตอบโจทย์คุณบ้างตามไปดูกันเลย !
Q1: ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ต้องไปที่เขตหรือไม่ ?
A1: ต้องไป ในกรณีแรก หากทำการจองคิวออนไลน์เพื่อเข้ารับบริการกับทางสำนักงาน ขั้นตอนต่อไปของการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์คือการรวบรวมเอกสารสำคัญและเดินทางไปย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ณ สำนักงานเขตท้องที่ใหม่
ในกรณีที่สอง คุณเลือกทำการย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) หากเป็นการเปิดใช้งานครั้งแรกจำเป็นต้องเดินทางไปยังสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอเพื่อทำการยืนยันตัวตน หลังจากนั้นจึงจะสามารถใช้ฟังก์ชันย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ได้
Q2: ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ไปที่ไหนได้บ้าง ?
A2: ไปได้ในที่ต่างๆ ดังนี้
- สำนักงานเขตในพื้นที่ ( กรุงเทพมหานคร )
- เทศบาลในพื้นที่
- ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่
โดยพิจารณาจากที่ตั้งของบ้านหลังใหม่ที่คุณทำการย้ายเข้าไปอยู่อาศัยเป็นหลัก
Q3: จะย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เจ้าบ้านต้องไปที่เขตไหม ?
A3: เจ้าบ้านมีความจำเป็นต้องไปยังสำนักงานเขตเพื่อทำการส่งคำร้องและยินยอมให้สามารถย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาได้ และมีเอกสารที่จำเป็นต้องเซ็นด้วยตัวเจ้าบ้าน แต่หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปได้ด้วยตัวเอง สามารถออกหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน พร้อมแนบบัตรประชาชนของเจ้าบ้านมาผ่านตัวผู้ย้ายได้
Q4: ต้องการให้ผู้เยาว์ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ตามพ่อแม่ต้องทำยังไง ?
A4: เตรียมเอกสารสูติบัตร หากลูกของคุณอายุไม่ถึง 15 ปี โดยจะเป็นสำเนาสูติบัตรหรือสูติบัตรตัวจริงก็ได้
Q5: ทะเบียนบ้านชำรุดเป็นอะไรไหม ?
A5: แม้จะสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ให้เข้าไปอยู่ในโทรศัพท์มือถือแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นในการพกเล่มหรือใช้สำเนาทะเบียนบ้านในการดำเนินการต่างๆ ทั้งการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ การตรวจสอบข้อมูลผู้อยู่อาศัย ใช้ประกอบในการยื่นคำร้อง เช่น การสมัครเรียน สมัครงาน หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น
ติดตามข่าวสารและเยี่ยมชมโครงการต่าง ๆ ของเราได้ที่ https://www.maneerin.co.th/
ดีสดวกสะบายต่อคนทำงานประจำที่ไม่ต้องลางาน