Skip to content
Home » News » สอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ พร้อมรายละเอียดทุกขั้น

สอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ พร้อมรายละเอียดทุกขั้น

วิธีย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

ไขข้อข้องใจวิธีย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

“จะดีแค่ไหน หากย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์สามารถทำได้บนโทรศัพท์มือถือ ?” 

ในยุคที่มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันและช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัย ทั้งในโซนบ้านกรุงเทพ โซนบ้านชลบุรี หรือไม่ว่าจะโซนไหนก็ตาม หากการติดต่อขอย้ายทะเบียนบ้านสามารถทำได้ในระบบออนไลน์จะสามารถช่วยลดเวลาในการดำเนินการต่างๆ และเพิ่มเวลาส่วนตัวให้กับคุณได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการจองคิวเข้ารับบริการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ล่วงหน้า ! พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ที่มีข้อมูลครบ จบในรวดเดียว

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้หรือไม่ ?

การย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์หรือแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์นั้นเราสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ในการจองคิวเพื่อนัดวันและเวลาในการเข้าไปยังสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในพื้นที่นั้นเพื่อดำเนินการทางด้านเอกสารต่างๆ ได้ ซึ่งถือเป็นมาตรการการจัดการเวลาให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่มีความจำเป็นจะเข้ามาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านโดยไม่ต้องมานั่งต่อคิวหรือมาที่สำนักงานเขตตั้งแต่เช้านั่นเอง ซึ่งรูปแบบการย้ายทะเบียนบ้านนั้นมีทั้งหมด 2 รูปแบบด้วยกัน โดยจะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ตามไปทำความเข้าใจกันก่อนเลย

การย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

รูปแบบการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเกิดขึ้นเมื่อไหร่…?
การย้ายทะเบียนบ้านจะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีความจำเป็นจะต้องย้ายบ้านจากที่พักอาศัยเดิมไปยังที่พักอาศัยใหม่ เช่น การย้ายจากบ้านแหลมฉบัง ไปบ้านอมตะนคร โดยการย้ายทะเบียนบ้านไปที่นั้นๆ ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ต่างๆ ทั้งการเลือกตั้งภายในเขต ความจำเป็นที่ต้องการให้บุตรหลานของคุณเขาสถานศึกษาในบริเวณนั้น หรือสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลตามทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งการเลือกย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ในแต่ละกรณี มีทั้งหมด 2 รูปแบบคร่าวๆ ดังนี้

การย้ายทะเบียนบ้านออกและย้ายเข้าทะเบียนบ้าน เป็นวิธีการพื้นฐานในการย้ายทะเบียนบ้านทั่วไป ซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่าจากการที่ต้องเตรียมเอกสารและยื่นต่อนายทะเบียนทั้งบ้านที่ต้องการย้ายออกและบ้านที่ต้องการย้ายเข้า ด้วยเหตุนี้การย้ายทะเบียนบ้านวิธีนี้จึงไม่เป็นที่นิยมนักเมื่อเทียบกับวิธีย้ายทะเบียนปลายทางออนไลน์ที่สามารถทำได้ง่ายกว่า การย้ายออกและย้ายเข้าส่วนมากจะเป็นการย้ายทะเบียนออกจากบ้านและย้ายเข้าในทะเบียนบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกัน โดยแต่ละวิธีมีการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ดังนี้

 

การย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม

หากคุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม จะต้องจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ( กรณีผู้แจ้งแย้งไม่ใช่เจ้าบ้าน )
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทน ( กรณีได้รับการมอบหมายจากเจ้าบ้าน )
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ต้องการจะย้าย ( กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตัวเอง )

และนำเอกสารเหล่านี้ส่งมอบให้นายทะเบียนในท้องที่บ้านหลังเดิมเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบให้เสร็จสิ้น โดยจะต้องมีการประทับคำว่า ‘ย้าย’ บนหน้าเอกสารจากนายทะเบียน

 

การย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่

หากคุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่ จะต้องจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ( กรณีผู้แจ้งแย้งไม่ใช่เจ้าบ้าน )
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทน ( กรณีได้รับการมอบหมายจากเจ้าบ้าน )
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ทั้งตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าบ้านคนใหม่ว่าสามารถย้ายเข้าได้

โดยนำเอกสารเหล่านี้ส่งมอบให้นายทะเบียนในท้องที่พื้นที่ใหม่เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบให้เสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะได้รับใบแจ้งการย้ายที่อยู่และได้รับการเพิ่มชื่อเข้าไปยังทะเบียนบ้านหลังใหม่


ซึ่งการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิมจะไม่สามารถทำการจองคิวออนไลน์ได้ กลับกันการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่จะสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการจองคิวผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความสะดวกโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านที่ซ้ำซ้อนและมีความยุ่งยาก แต่การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีข้อจำกัดเล็กน้อยในเรื่องการย้ายบ้านนั่นคือคุณต้องย้ายออกจากเขต อำเภอ หรือจังหวัดก่อน จึงจะสามารถใช้วิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้ เช่น หากคุณอยู่ในเขตบ้านบางพระ คุณต้องย้ายออกจากเขตนั้นๆ ก่อน จึงจะสามารถย้ายเข้าที่ไหมได้ โดยการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์นี้จะเป็นการที่คุณสามารถจองคิวเพื่อนัดวันและเวลาในการเข้าไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอได้

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์

ขั้นตอนสำหรับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางทางออนไลน์

ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์มีความสะดวกสบายมากกว่าการแจ้งย้ายเข้า-ออกทะเบียนบ้านก่อนหน้า เนื่องจากจะสามารถทำการจองคิวเพื่อนัดวันและเวลาที่จะเข้าไปติดต่อกับนายทะเบียน ซึ่งระยะเวลาในการนัดจะสามารถจองได้ล่วงหน้า 15 วัน และช้าสุดไม่เกิน 16.00 น. ก่อนวันเข้ารับบริการ โดยการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์นั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอน 3 STEP ที่เรานำมาฝาก

ไม่ว่าคุณจะต้องการดำเนินเอกสารใดๆ ก็ตามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ขั้นตอนแรกสุดที่ต้องทำคือการจองคิวเพื่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจองคิวในช่วงก่อนหน้าจะเป็นการแจกคิวให้กับคนที่ไปถึงได้เร็วที่สุดและเรียงตามลำดับ ทำให้ผู้คนรู้สึกเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ปัญหานี้จึงถูกหยิบยกมาให้แก้ไขได้ด้วย 2 รูปแบบการจองคิวย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ดังนี้

 

จองคิวผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เราสามารถทำการจองคิวเพื่อแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการเลือกเข้าสู่เว็บไซต์ https://q-online.bora.dopa.go.th/ หรือค้นหาคำว่า ‘ลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า’ จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย บนหน้าเว็บไซต์นี้คุณจะสามารถเลือก Login หรือเข้าสู่ระบบใช้งานด้วยการกรอกข้อมูลไม่ว่าจะเป็น เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์ หรือหากคุณใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถเลือก Login ผ่านการแอปพลิเคชันนี้ได้ เมื่อคุณเข้าสู่ระบบมาแล้วทำการเลือกที่ปุ่มเมนู เพื่อทำการเลือกระบบนัดหมายรับบริการ และระบุจังหวัด อำเภอ สำนักทะเบียน งานบริการที่ต้องการ และวันที่ที่คุณสะดวกเข้ารับบริการ

 

จองผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )

กรมการปกครองได้มีการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งจะหนึ่งในตัวช่วยให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์สะดวกสบายยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน D-DOPA ได้ด้วยการดาวน์โหลดลงบนโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้ารับบริการจากทางสำนักงาน โดยขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA มีดังนี้ 

 

ขั้นตอนการดาวน์โหลดเพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA 
  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D-DOPA 

แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) สามารถรองรับบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการ IOS และ Android โดยผู้ใช้งานควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าโทรศัพท์มือถือของคุณใช้ระบบปฏิบัติการแบบใด แล้วจึงเลือกติดตั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ IOS สามารถเข้ายัง App Store ทำการค้นหา D-DOPA จากนั้นจึงเลือก Install ( ติดตั้ง ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน 
  • กรณีหากใช้งานระบบปฏิบัติการ Android สามารถเข้าไปยัง Gooogle Play Store ทำการค้นหา D-DOPA แล้วจึงเลือกติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือของท่าน 
  1. ลงทะเบียนเข้าใช้งาน

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ลงบนโทรศัพท์มือถือของคุณแล้วเริ่มต้นเข้าสู่ขั้นตอนการลงเทียนเพื่อเข้าใช้งานโดยสามารถดำเนินการได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1.  กดเริ่มต้นเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID )
  2.  ในการเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตนด้วยการนำบัตรประชาชนใบล่าสุดไปแจ้งยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน ณ สำนักงานเขตในท้องที่
  3.  เมื่อได้รับการยืนยันตัวตนจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตแล้วทำการเปิดแอปพลิเคชัน D-DOPA ขึ้นอีกครั้ง พร้อมทั้งกดอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องมือและระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของตนเองให้ถูกต้อง
  4.  อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขในการให้บริการให้เรียบร้อยและกดยอมรับ
  5.  สแกน QR Code ในแอปพลิเคชัน D-DOPA 
  6.  ระบบจะทำการแจ้งเตือนให้กำหนดตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ จำเป็นต้องกรอกรหัสผ่านทั้ง 2 ครั้งให้ตรงกัน
  7.  ระบบจะทำการแจ้งเตือนขอยินยอมอีกครั้ง โดยจะต้องระบุรหัสผ่านเพื่อทำการอัพโหลดข้อมูลลงแอปพลิเคชันของตน
  8. เมื่อการลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้วหน้าจอจะแสดงสถานะการสมัครสำเร็จ

 

ฟังก์ชันการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

เมื่อทำการลงทะเบียนเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการกรอกรหัสประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก และเลือกไปคำสั่งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ได้ทันที หลังจากนั้นคำสั่งยินยอมจะขึ้นแจ้งเตือนไปยังเจ้าบ้านตามที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้าน ซึ่งตัวเจ้าบ้านมีสิทธิ์ในการยินยอมหรือไม่ในการรับลูกบ้านให้ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เข้ามาอยู่ร่วมกัน

 

ฟังก์ชันอื่น ๆ นอกจากการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

นอกจากฟังก์ชันในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์แล้ว แอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่ช่วยตอบโจทย์แก่ผู้ใช้งานที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้บริการกับสำนักงานเขตไม่ว่าจะเป็น

✔ การตรวจสอบข้อมูลคนเองที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้จัดเก็บข้อมูล

✔ ระบบจองคิวขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า

✔ การตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น

✔การแจ้งเหตุจำเป็นหากไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

✔ การตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. เป็นต้น


ถือได้ว่าแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์เป็นอย่างมาก ด้วยฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ในเรื่องการจองคิวเพื่อเข้ารับบริการกับทางสำนักงาน และสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ในวันที่คุณสะดวกโดยไม่ต้องลางานเพื่อไปยังสำนักงานเขต สะดวกสบาย ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่สุดๆ

ขั้นตอนต่อมาคือการเตรียมเอกสารต่างๆ หลังการจองคิวในการนัดวันและเวลาเพื่อเข้ารับบริการกับทางสำนักงานเขตในท้องที่ ซึ่งผู้ที่จะทำการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์หรือแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์นั้นจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วนเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

เอกสารที่ใช้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

ในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์นี้มีเอกสารสำคัญที่จำเป็นจะต้องเตรียมก่อนนำไปให้กับนายทะเบียนของสำนักงาน ซึ่งการเตรียมเอกสารสามารถแบ่งออกได้ 2 กรณีขึ้นอยู่กับว่าใครคือผู้ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

กรณีเป็นเจ้าบ้านทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

สำหรับกรณีนี้จะเป็นกรณีของตัวเจ้าบ้านทำการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยตัวเอง มีเอกสารที่ต้องเตรียมไปคือ

  • บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน ( ในกรณีผู้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีมากกว่า 1 คนขึ้นไป ต้องนำบัตรประชาชนของทุกคนที่มีชื่อในการกู้ร่วมกันมายังสำนักงานเขตเพื่อดำเนินการ )  
  • หนังสือยินยอมในการเป็นเจ้าบ้าน ( กรณีเป็นการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยร่วมกัน )
  • หนังสือสัญญาซื้อบ้าน หรือโฉนดที่ดิน
  • เล่มทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )

 

กรณีเป็นลูกบ้านหรือผู้อยู่อาศัยย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

สำหรับกรณีนี้จะเป็นกรณีที่ผู้อยู่อาศัยหรือลูกบ้านทำการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยตัวเอง มีเอกสารที่ต้องเตรียมไปคือ

  • สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
  • บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนของผู้แจ้งย้าย
  • หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน ( กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายด้วยได้ )
  • หนังสือมอบหมายจากผู้ย้าย บัตรประชาชน และสำเนาทั้งสองฉบับลงลงชื่อกำกับ ( กรณีผู้ย้ายไม่สามารถมาแจ้งได้ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน เช่น เครือญาติ ผู้มีนิติสัมพันธ์  คนรู้จักหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย )

ขั้นตอนสุดท้ายในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ เมื่อทำการเตรียมเอกสารต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วนำเอกสารที่เตรียมไปยังสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ โดยไปให้ตรงกับวันที่ตนได้ทำการจองคิวขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้าไว้แล้วตามเวลาที่กำหนด และปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

  1. ยื่นเอกสารที่จัดเตรียมมาต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนที่รับเอกสารไปจะทำการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ และลงรายละเอียดการขอย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ โดยต้องลงชื่อทั้งช่องการย้ายออกและย้ายเข้า
  3. ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 10 นาทีจึงแล้วเสร็จ โดยไม่จำเป็นต้องทำการแจ้งไปยังสำนักงานเขตในพื้นที่เดิมของบ้านที่ทำการย้ายมาในก่อนหน้า


ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ที่ทาง มณีรินทร์ พร็อพเพอร์ตี้ ผู้นำเรื่องอสังหาริมทรัพย์บ้านจัดสรรชลบุรี คุณสามารถเลือกรับบริการต่างๆ จากสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอผ่านช่องทางต่างๆ ได้ตามความสะดวกที่จะย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ของคุณ

แจ้ง ย้าย ทะเบียนบ้าน ออนไลน์

หลังจากนี้จะเป็นช่วงตอบปัญหา ไขข้อสงสัยสำหรับใครที่อยากทราบเพิ่มเติมเรื่องย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ 

รวมคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์

คำถามที่รวบรวมมาในวันนี้เป็นคำถามคาใจที่เชื่อว่าใครหลายๆ คนคงรู้สึกสงสัยไม่แพ้กันเกี่ยวกับการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ มณีรินทร์ พร็อพเพอร์ตี้ คัดคำถาม 5 ข้อ ที่จะแก้ข้อสงสัยนั้นให้แก่คุณ จะมีคำถามไหนตอบโจทย์คุณบ้างตามไปดูกันเลย !

A1: ต้องไป ในกรณีแรก หากทำการจองคิวออนไลน์เพื่อเข้ารับบริการกับทางสำนักงาน ขั้นตอนต่อไปของการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์คือการรวบรวมเอกสารสำคัญและเดินทางไปย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ณ สำนักงานเขตท้องที่ใหม่

ในกรณีที่สอง คุณเลือกทำการย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ( DOPA-Digital ID ) หากเป็นการเปิดใช้งานครั้งแรกจำเป็นต้องเดินทางไปยังสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอเพื่อทำการยืนยันตัวตน หลังจากนั้นจึงจะสามารถใช้ฟังก์ชันย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA ได้

A2: ไปได้ในที่ต่างๆ ดังนี้ 

  • สำนักงานเขตในพื้นที่ ( กรุงเทพมหานคร )
  • เทศบาลในพื้นที่
  • ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่

โดยพิจารณาจากที่ตั้งของบ้านหลังใหม่ที่คุณทำการย้ายเข้าไปอยู่อาศัยเป็นหลัก

A3: เจ้าบ้านมีความจำเป็นต้องไปยังสำนักงานเขตเพื่อทำการส่งคำร้องและยินยอมให้สามารถย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาได้ และมีเอกสารที่จำเป็นต้องเซ็นด้วยตัวเจ้าบ้าน แต่หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปได้ด้วยตัวเอง สามารถออกหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน พร้อมแนบบัตรประชาชนของเจ้าบ้านมาผ่านตัวผู้ย้ายได้ 

A4: เตรียมเอกสารสูติบัตร หากลูกของคุณอายุไม่ถึง 15 ปี โดยจะเป็นสำเนาสูติบัตรหรือสูติบัตรตัวจริงก็ได้

A5: แม้จะสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ให้เข้าไปอยู่ในโทรศัพท์มือถือแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นในการพกเล่มหรือใช้สำเนาทะเบียนบ้านในการดำเนินการต่างๆ ทั้งการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ การตรวจสอบข้อมูลผู้อยู่อาศัย ใช้ประกอบในการยื่นคำร้อง เช่น การสมัครเรียน สมัครงาน หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น

ติดตามข่าวสารและเยี่ยมชมโครงการต่าง ๆ ของเราได้ที่ https://www.maneerin.co.th/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage your privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save