Skip to content
Home » News » รู้ก่อนยื่นภาษี ดอกเบี้ยบ้านช่วยลดหย่อนภาษีบ้านได้

รู้ก่อนยื่นภาษี ดอกเบี้ยบ้านช่วยลดหย่อนภาษีบ้านได้

Time for Taxes

ภาษีบ้าน คืออะไร? รู้ไหมดอกเบี้ยบ้านสามารถลดหย่อนภาษีบ้านได้

การมีบ้านหลังแรกถือเป็นการลงทุนให้กับตัวเองและครอบครัว แต่ก่อนซื้อบ้านชลบุรีควรทำความเข้าใจเรื่องภาษีบ้านด้วย โดยเฉพาะการลดหย่อนภาษีบ้านหรือดอกเบี้ยบ้านหักลดหย่อนได้เท่าไหร่ ในบทความนี้ Maneerin Property จะพาไปดูรายละเอียดต่างเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกที่ควรรู้ เพื่อจะได้เตรียมตัวคำนวณดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนได้เท่าไหร่ วางแผนเรื่องเอกสาร รวมถึงแนะนำเทคนิคลดภาษีโดยใช้ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านที่สามารถทำได้จริง

แต่ก่อนไปดูเทคนิคลดหย่อนภาษีบ้าน ตามไปหาคำตอบกันว่าภาษีบ้าน คืออะไร? เป็นภาษีที่อยู่อาศัยหรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจะมีการจัดเก็บเป็นรายปีในทุก ๆ ปี โดยคิดตามมูลค่าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม หรืออาคารสำนักงาน สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้ และมีงบประมาณในการพัฒนาท้องที่นั่นเอง

สำหรับการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก คือการนำดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่ไม่นับรวมเงินต้น มาใช้ในการลดหย่อนภาษีบ้านตามจำนวนดอกเบี้ยที่จ่ายไปในจำนวนสูงสุดไม่เกินปีละ 100,000 บาท ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น

  • ต้องเป็นการกู้ซื้อบ้านจากสถาบันทางการเงิน
  • การกู้ซื้อบ้านต้องมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยหรือสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองเท่านั้น
  • ต้องใช้บ้านที่ซื้อเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน กรณีมีผู้กู้ร่วมการลดหย่อนภาษีบ้านต้องแบ่งสัดส่วนตามการผ่อนชำระ
  • ต้องใช้บ้านเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ยื่นลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก

คลายทุกข้อสงสัย ค่าลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก มีวิธีคำนวณอย่างไร

การหาคำตอบดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนได้เท่าไหร่?
จะใช้วิธีคำนวณค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านบางแสนแบบขั้นบันไดและอ้างอิงตามมูลค่าของฐานภาษีแต่ละขั้น โดยสามารถคำนวณลดหย่อนภาษีบ้านตามประเภทของการใช้ประโยชน์ อย่างกรณีที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยจะแบ่งการคำนวณค่าลดหย่อนภาษีบ้านออกเป็นบ้านหลังหลักและบ้านหลังอื่น ๆ ดังนี้

กรณีบ้านหลังหลัก มีอัตราภาษีบ้านและที่อยู่อาศัยเท่าไหร่

บ้านหลังหลัก เป็นกรณีที่เจ้าของบ้านเป็นทั้งเจ้าของที่ดิน มีโฉนด และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งกรณีนี้จะมีอัตราจัดเก็บภาษีตามมูลค่าบ้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • มูลค่าบ้านไม่เกิน 50 ล้านบาท จะมีการยกเว้นภาษี
  • มูลค่าบ้านรวมอยู่ที่ 50-75 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.03%
  • มูลค่าบ้านรวมอยู่ที่ 75-100 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.05%
  • มูลค่าบ้านมากกว่า 100 ล้านบาท จะคิดอัตราภาษี 0.10%

สำหรับกรณีเจ้าของบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดิน แต่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน จะมีอัตราจัดเก็บภาษีบ้าน ดังนี้

  • มูลค่าบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท จะมีการยกเว้นภาษี
  • มูลค่าบ้านรวมอยู่ที่ 10-50 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.02%
  • มูลค่าบ้านรวมอยู่ที่ 50-75 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.03%
  • มูลค่าบ้านรวมอยู่ที่ 75-100 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.05%
  • มูลค่าบ้านมากกว่า 100 ล้านบาท จะคิดอัตราภาษี 0.10%

กรณีบ้านหลังอื่น ๆ มีอัตราภาษีบ้านและที่อยู่อาศัยเท่าไหร่

กรณีที่ครอบครองบ้านหรือที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง ถ้าไม่ใช่บ้านหลังหลักจะมีอัตราการเก็บภาษีบ้านดังต่อไปนี้

  • มูลค่าบ้านไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.02%
  • มูลค่าบ้านรวมอยู่ที่ 50-75 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.03%
  • มูลค่าบ้านรวมอยู่ที่ 75-100 ล้านบาท อัตราภาษีจะกำหนดไว้ที่ 0.05%
  • มูลค่าบ้านมากกว่า 100 ล้านบาท จะคิดอัตราภาษี 0.10%

วิธีคำนวณภาษีบ้านหลังแรกก่อนยื่นลดหย่อนภาษีบ้าน

สำหรับการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะใช้วิธีการคำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีในแต่ละขั้น ซึ่งกรณีบ้านหลักหลังและบ้านหลังอื่น ๆ ให้ใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกัน ดังนี้

(มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

ตัวอย่างที่ 1 กรณีเป็นทั้งเจ้าของที่ดิน มีโฉนด และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 

นาย A ครอบครองที่ดินมูลค่า 15 ล้านบาท และมีสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 6 ล้านบาท เมื่อนำมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมารวมกันจะไม่เกิน 50 ล้านบาท เท่ากับว่านาย A ได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขบ้านหลังหลัก

ตัวอย่างที่ 2 กรณีเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน 

นาย A ครอบครองที่ดินมูลค่า 15 ล้านบาท และมีสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 6 ล้านบาท เมื่อนำมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมารวมกันเกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นผลให้นาย A ถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 0.02% โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้

จากสูตรคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย  (15 ล้านบาท + 6 ล้านบาท) x 0.02% = 4,200 บาท

สรุป
นาย A ต้องเสียภาษีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4,200 บาท

ทำความรู้จักประเภทดอกเบี้ยบ้านเบื้องต้น ก่อนทำเรื่องยื่นกู้

สำหรับคนที่วางแผนซื้อบ้านชลบุรีนอกจากวางแผนยื่นกู้ซื้อบ้านแล้ว ต้องวางแผนจ่ายดอกเบี้ยบ้านควบคู่กันไปด้วย เพราะถ้าวางแผนไม่ดีดอกเบี้ยบ้านอาจทำให้มูลค่าบ้านของเราเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าได้ ดังนั้นการรู้จักประเภทดอกเบี้ยบ้านประเภทต่าง ๆ ก่อนว่ามีแบบไหนบ้าง จะช่วยให้ผู้กู้วางแผนการเงินได้อย่างละเอียดรอบคอบ และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม โดยประภเภทดอกเบี้ยบ้านที่ Maneerin Property นำมาแนะนำสามารถแบ่งได้ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ให้คงที่ตลอดระยะเวลาหนึ่งตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยคงที่ยังสามารถแบ่งได้อีก
3 ประเภทย่อย ดังนี้

  • ดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องชำระต้องในจำนวนเท่าเดิมตลอดอายุสัญญากู้ยืมเงิน
  • ดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรก อัตราดอกเบี้ยจะถูกตรึงให้คงที่ช่วง 1-5 ปีแรกของสัญญา
    จากนั้นดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นลอยตัวตามสภาพเศรษฐกิจ
  • ดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดให้คงที่แล้วค่อยปรับขึ้นทีละขั้น เช่น ดอกเบี้ยคงที่ปีแรกและสอง 3.75% ปีที่สาม 4.00%
    จากนั้นถูกปรับเป็นลอยตัว เป็นต้น

อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate)

คืออัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับขึ้นลงตามต้นทุนของสถาบันการเงินหรือภาวะเศรษฐกิจ และไม่กำหนดว่าจะมีการปรับปีละกี่ครั้ง
ซึ่งอัตราดอกเบี้ยลอยตัวยังสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • MRR (Minimum Retail Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลที่ธนาคารจะเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อย
    ที่มีประวัติการชำระเงินดี
  • MLR (Minimum Loan Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี โดยจะใช้กับเงินกู้ระยะยาว
    ที่กำหนดระยะเวลาแน่นอน
  • MOR (Minimum Overdraft Rate) คือการเบิกเงินเกิน OD โดยใช้อ้างอิงกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี มีประวัติการเงินดี หรือประเภท
    มีวงเงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งพบในสินเชื่อธุรกิจนั่นเอง

วิธีการคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแบบง่าย ๆ นำไปใช้ได้จริง

เมื่อทราบประเภทอัตราดอกเบี้ยบ้านกันไปแล้ว อันดับถัดมาคือการรู้วิธีคำนวณดอกเบี้ยบ้าน เพื่อการวางแผนทางการเงินให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
ซึ่งวิธีคำนวณนี้สามารถได้ทั้งการผ่อนบ้านใหม่หรือรีไฟแนนซ์บ้าน โดยสูตรคำนวณดอกเบี้ยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

(จำนวนเงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในเดือนนั้น) ÷ จำนวนวันใน 1 ปี = ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด

เงินต้นคงเหลือ + ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด (จากข้อ 1)  = ยอดเงินรวมเมื่อจบงวด

ยอดเงินรวมเมื่อจบงวด (จากข้อ 2) – ค่างวดต่อเดือน = เงินต้นคงเหลือ

ตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยคงที่

นาย D กู้เงินซื้อบ้านทั้งหมด 2,950,000 บาท ผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 30,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ย 5.27% ต่อปี
โดยชำระงวดแรกเดือนมกราคม และปีนั้นมี 365 วัน

งวดที่ 1 (ชำระเดือนมกราคม)

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด : (2,950,000 x 5.27% x 31) = 13,203.87 บาท

จากนั้นนำไปหักค่างวดที่ต้องจ่ายเดือนแรกออก 30,000 บาท เท่ากับว่างวดแรกจะเหลือเงินต้น
2,950,000 – 30,000 = 2,936,796.13 บาท

งวดที่ 2 (ชำระเดือนกุมภาพันธ์)

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด : (2,936,796.13 x 5.27% x 28) ÷ 365 = 11,872.70 บาท

ยอดเงินรวมเมื่อจบงวด : 2,936,796.13 + 11,872.70 = 2,948,668.83 บาท

จากนั้นนำไปหักค่างวดที่ต้องจ่ายเดือนที่สองออก 30,000 บาท

เมื่อสิ้นงวดสองจะเหลือเงินต้นเท่ากับ 2,948,668.83 – 30,000 = 2,918,668.83 บาท

ตัวอย่างที่ 2 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

ใช้วิธีคำนวณดอกเบี้ย MRR สำหรับสินเชื่อบ้านเบื้องต้น เช่น วงเงินกู้ซื้อบ้าน 2,950,000 บาท กำหนดว่า MRR เท่ากับ 6.90% และอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 คงที่อยู่ที่ 5.52% ปีที่ 2 อยู่ที่ MRR-1.25% เมื่อคำนวณดอกเบี้ย MRR จะได้ดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับปีที่ 1 2,950,000 x 5.52% = 162,840 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับปีที่ 2 6.90% – 1.25% = 5.65%

ดังนั้น ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 2 คือ 2,950,000 x 5.65% = 166,675 บาท

ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก คืออะไร และใช้สิทธิลดหย่อนได้เท่าไหร่

เป็นมาตรการทางภาษีที่รัฐบาลจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีบ้านหลังแรกได้ง่ายขึ้น โดยเจ้าของบ้านสามารถนำดอกเบี้ยบ้านไปหักลดหย่อนภาษีบ้านได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท/ปี และเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นตามมณีรินทร์มาดูกันว่า กรณีกู้ซื้อบ้านคนเดียวกับกู้ร่วมใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนได้เท่าไหร่?

กรณีกู้ซื้อบ้านคนเดียว

สมมุติตลอด 1 ปีที่ผ่านมาสถาบันทางการเงินสรุปยอดดอกเบี้ยอยู่ที่ 144,000 บาท แต่เนื่องจากค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านสูงสุดไม่เกินปีละ 100,000 บาท นั่นเท่ากับว่าคุณจะลดหย่อนภาษีบ้านได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น

กรณีกู้ร่วม

ต้องแบ่งค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านให้ผู้ยื่นกู้ร่วมในอัตราที่เท่ากัน แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท เช่น สามีภรรยายื่นกู้ซื้อบ้านร่วมกัน พอถึงสิ้นปีสถาบันการเงินสรุปอัตราดอกเบี้ยมาให้ปรากฏว่าอยู่ที่ 144,000 บาท กรณีนี้ได้สิทธิลดหย่อนภาษีบ้าน 100,000 บาท โดยสามีและภรรยาจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกคนละครึ่ง คือคนละ 50,000 บาทนั่นเอง

หาคำตอบ ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกตอนไหน ใช้หลักเกณฑ์อะไรตัดสิน

ก่อนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบ้านให้เช็กก่อนว่ารายได้ต่อปีของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาหรือไม่? สมมติถ้าอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้ตามจริงแต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และหากคุณค่าลดหย่อนจากส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนจากเบี้ยประกัน ค่าลดหย่อนจากกองทุน หรือค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกัน

เทคนิคลดหย่อนภาษีบ้านจากดอกเบี้ยกู้บ้านมีกี่วิธี? ต่างกันไหม

ค่าลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ช่วยให้ประหยัดค่าภาษีได้ไม่มากก็น้อย ใครที่กำลังจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ตามมาดูเทคนิคดี ๆ ที่ Maneerin นำมาฝากกัน

เลือกประเภทสินเชื่อให้เหมาะสม

หลายคนอาจไม่รู้ว่าประเภทสินเชื่อบ้านมีผลต่อการผ่อนชำระและการลดหย่อนภาษีบ้านเป็นอย่างมาก ฉะนั้นก่อนกู้ซื้อบ้านควรพิจารณาข้อดี ข้อเสียของสินเชื่อด้วย

มีข้อดีตรงรู้ว่าไม่ต้องกังวลว่าดอกเบี้ยจะขึ้นหรือลง เพราะกำหนดให้ชำระเงินคืนในจำนวนที่เท่ากันทุกเดือนจนครบอายุสัญญา แต่ข้อเสียคุณจะไม่ได้ประโยชน์กรณีอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลง

ข้อดีคือจ่ายค่าผ่อนและดอกเบี้ยไปตามการปรับขึ้นลงของผู้ให้กู้ ขณะที่ข้อเสียคือคุณต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ดอกเบี้ย
จะปรับสูงขึ้นนั่นเอง

เลือกระยะเวลาผ่อนชำระให้เหมาะสม

โดยทั่วไประยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ซื้อบ้านที่สถาบันการเงินกำหนดคือตั้งแต่ 15 ปี ไปจนถึงสูงสุดที่ 40 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสินเชื่อแต่ละแห่ง ซึ่งเคล็ดลับที่หลายคนเลือกใช้ในการผ่อนบ้านให้หมดไว มีดังนี้

ตามปกติช่วง 3 ปีแรกของสัญญา สถาบันการเงินมักจัดโปรโมชันพิเศษอย่างการคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงเหมาะแก่การนำเงินก้อนมาโปะมากที่สุด เพราะถ้าจำนวนเงินต้นลด จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายหลังจากนี้ก็ลดลงตามไปด้วย

การรวบรวมเงินก้อนใหญ่มาโปะเพิ่มปีละครั้งก็ถือเป็นวิธีลดเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้รับความนิยม โดยเงินก้อนที่ว่านี้อาจเป็นเงินโบนัส เงินปันผล หรือเงินเก็บสะสมตลอดปีก็ได้

เชื่อว่าบทความนี้น่าจะช่วยให้คนที่กู้ซื้อบ้านคลายข้อสงสัยเรื่องดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีบ้านได้จริงไหม? ดอกเบี้ยบ้านหักลดหย่อนได้เท่าไหร่ ใครมีสิทธิลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกบ้าง ไปจนถึงกรณีกู้ร่วมค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านต้องแบ่งอย่างไร
ดังนั้นเพื่อให้การยื่นลดหย่อนภาษีเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากศึกษาเรื่องดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนได้เท่าไหร่ ก็อย่าลืมเช็กสิทธิลดหย่อนภาษี
ประเภทอื่น ๆ ด้วย เพื่อที่คุณจะไม่พลาดใช้สิทธิของตัวเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage your privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save