Skip to content
Home » News » กู้ร่วมซื้อบ้าน อยากกู้ซื้อบ้านกับแฟนทำอย่างไรดี

กู้ร่วมซื้อบ้าน อยากกู้ซื้อบ้านกับแฟนทำอย่างไรดี

กู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคนที่ไม่สามารถกู้คนเดียวได้

กู้ร่วมซื้อบ้าน อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ไม่สามารถกู้คนเดียวได้

กู้ร่วมซื้อบ้านทำอย่างไรได้บ้าง? ปัจจุบันการกู้ร่วมคือทางเลือกในการขอสินเชื่อบ้านให้ธนาคารอนุมัติง่ายขึ้น ส่วนใหญ่การกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือการกู้บ้านร่วมกันจะได้รับความนิยมมาก ๆ ในกลุ่มคนที่มีแฟน มีคู่ชีวิต เนื่องจากเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นชีวิตคู่ สามารถสร้างเครดิตได้เร็วขึ้นและยังช่วยให้มีสิทธิ์ที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้ซื้อคนเดียว ทั้งนี้ยังเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่สามารถกู้คนเดียวได้ และยังเป็นทางเลือกสำหรับคู่รักที่ต้องการซื้อบ้านด้วยกันแต่มีเงินเพียงพอ แต่ด้วยการกู้ร่วมจะช่วยให้สามารถเข้าถึงเงื่อนไขเงินกู้ที่ดีขึ้นและจำนวนเงินกู้ที่สูงขึ้นได้ง่าย ๆ 

วันนี้เราจึงขอพาทุกคนที่อยากกู้ร่วมซื้อบ้านไปรู้จักกับการกู้ร่วมซื้อบ้านแบบเจาะลึก เพื่อให้คนที่กำลังอยากกู้ซื้อบ้านร่วมได้นำไปประกอบการตัดสินใจอย่างเหมาะสม เราพร้อมพาทุกคนไปคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับการกู้ร่วมว่ามีข้อดี-ข้อควรระวัง มีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อแตกต่างอย่างไร แบบไหนถึงจะตอบโจทย์มากที่สุด ใครอยากรู้เรื่องไหนตามไปอ่านกันได้เลย!

กู้ร่วมซื้อบ้านคืออะไร

การกู้ร่วมซื้อบ้านคือการกู้เงินซื้อบ้านร่วมกันโดยคู่สมรสหรือผู้ที่มีสายเลือดเดียวกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับเงินกู้ที่สูงขึ้นและเพื่อเงื่อนไขที่ดีกว่าในการกู้เงินเพียงคนเดียว โดยการกู้ร่วมจะมีผู้กู้หลัก 1 คน ส่วนผู้กู้ร่วมมีสูงสุดได้ไม่เกิน 3 คน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งก่อนจะมีการกู้ร่วมซื้อบ้าน ทางธนาคารจะมีการประเมินความสามารถในการกู้และรายได้ของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ได้รับเงินกู้ตามความสามารถจริง ค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เกิดขึ้นจะถูกแบ่งแยกอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะช่วยลดภาระการผ่อนชำระหนี้ของแต่ละบุคคลลงได้เมื่อเปรียบเทียบกับการกู้เงินซื้อบ้านด้วยตนเองโดยไม่มีการร่วมกู้

กู้ร่วมซื้อบ้านทำร่วมกับใครได้บ้าง

การกู้บ้านร่วมสามารถทำร่วมได้กับคู่สมรสหรือผู้ที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อแม่กับลูก, พี่น้อง หรือเครือญาติของเรา เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งความสัมพันธ์ของผู้กู้ร่วมได้ง่าย ๆ เป็น 3 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

กู้ร่วมกับสายเลือดเดียวกัน

การกู้ร่วมซื้อบ้านสามารถทำได้กับผู้ที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อ-แม่, พี่-น้อง หรือเครือญาติของเราเอง แต่หากมีสายเลือดเดียวกันแต่ใช้คนละนามสกุลก็จะต้องแสดงเอกสารที่ระบุว่ามีบิดามารดาคนเดียวกัน หรือเป็นเครือญาติกัน เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้าน เป็นต้น

นายเอ มีเงินเดือน 35,000 บาท ต้องการซื้อบ้าน 3,000,000 บาท ซึ่งถ้าผ่อนคนเดียวก็จะตกเดือนละประมาณ 14,000 บาท (กู้เป็นระยะเวลา 30 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.5% ต่อปี) ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้านกับน้า (น้องสาวของแม่) เพราะคิดว่าถ้ากู้ซื้อคนเดียวจะหนักเกินไป 

ซึ่งน้ามีรายได้ 50,000 บาท เมื่อจะยื่นกู้ร่วมธนาคารจะมองว่าเป็นการขอสินเชื่อก้อนเดียวกัน โดยจะคำนวณจากเงินของทั้ง 2 คนรวมกัน นั่นคือ 85,000 บาท และเมื่อประเมินความสามารถในการแบกรับภาระหนี้ของรายได้ต่อเดือน (ไม่ควรเกิน 40%) จะเท่ากับ 32,000 บาท ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านสูงกว่าการกู้เพียงคนเดียว โดยก่อนที่จะยื่นกู้ร่วมจำเป็นต้องแสดงสูติบัตร หรือทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงว่าเป็นเครือญาติกัน

กู้ร่วมกับพี่น้องท้องเดียวกัน

การกู้ร่วมซื้อบ้านกับพี่น้องท้องเดียวกันในที่นี้ หมายถึงทั้งพี่น้องที่ใช้นามสกุลเดียวกันและพี่น้องที่ใช้คนละนามสกุลกัน ซึ่งหากเป็นคนละนามสกุลต้องแสดงเอกสาร อย่าง ทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตร เพื่อระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน

นายดี มีเงินเดือน 35,000 บาท ต้องการซื้อบ้าน 3,000,000 บาท ซึ่งถ้าผ่อนคนเดียวก็จะตกเดือนละประมาณ 14,000 บาท (กู้เป็นระยะเวลา 30 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.5% ต่อปี) ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้านกับน้อง (น้องใช้คนละนามสกุล) เพราะคิดว่าถ้ากู้ซื้อคนเดียวจะหนักเกินไป 

ซึ่งน้องมีรายได้ 30,000 บาท เมื่อจะยื่นกู้ร่วมธนาคารจะมองว่าเป็นการขอสินเชื่อก้อนเดียวกัน โดยจะคำนวณจากเงินของทั้ง 2 คนรวมกัน นั่นคือ 65,000 บาท และเมื่อประเมินความสามารถในการแบกรับภาระหนี้ของรายได้ต่อเดือน (ไม่ควรเกิน 40%) จะเท่ากับ 26,000 บาท ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านสูงกว่าการกู้เพียงคนเดียว โดยก่อนที่จะยื่นกู้ร่วมจำเป็นต้องแสดงสูติบัตร หรือทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงว่าเป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกัน

กู้ร่วมกับคู่สมรสกัน

การกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่สมรส หรือผู้ที่เป็นสามี-ภรรยากันนั้น สามารถกู้ร่วมได้ทั้งกับผู้ที่จดทะเบียนและผู้ที่ไม่ได้จดทะเบียน หากเป็นคู่สมรสกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนก็จะต้องนำเอกสาร หรือหลักฐานมา อย่าง ภาพถ่ายวันแต่งงาน หรือใบลงบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจที่ระบุว่าอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยามายื่นต่อธนาคารได้ แต่หากมีบุตรร่วมกันก็สามารถใช้สำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุชื่อของคู่สมรส หรือใบรับรองบุตรมายื่นเป็นหลักฐานได้ โดยการอนุมัติให้มีการกู้บ้านร่วมจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร

นายเอ็ม มีเงินเดือน 35,000 บาท ต้องการซื้อบ้าน 3,000,000 บาท ซึ่งถ้าผ่อนคนเดียวก็จะตกเดือนละประมาณ 14,000 บาท (กู้เป็นระยะเวลา 30 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.5% ต่อปี) ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้านกับภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว

ซึ่งภรรยามีรายได้ 30,000 บาท เมื่อจะยื่นกู้ร่วมธนาคารจะมองว่าเป็นการขอสินเชื่อก้อนเดียวกัน โดยจะคำนวณจากเงินของทั้ง 2 คนรวมกัน นั่นคือ 65,000 บาท และเมื่อประเมินความสามารถในการแบกรับภาระหนี้ของรายได้ต่อเดือน (ไม่ควรเกิน 40%) จะเท่ากับ 26,000 บาท ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านสูงกว่าการกู้เพียงคนเดียว

นอกจากนี้ ในปัจจุบันสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ก็สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นเดียวกับคู่รักทั่วไปและจะได้สิทธิเช่นเดียวกันกับคู่สมรสชาย-หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนกัน ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันความสัมพันธ์ตามที่แต่ละธนาคารกำหนด โดยข้อกำหนดจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารที่ยื่นกู้

กู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+

การกู้ร่วมสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ทางเลือกใหม่ของคนยุคใหม่

จริง ๆ แล้ว การกู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน หรือคู่รัก LGBTQ นั้นมีความแตกต่างกับการกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่สมรสที่จดทะเบียนอยู่เล็กน้อย ไม่ได้มีความแตกต่างกับคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสักเท่าไหร่ ถึงแม้ปัจจุบันจะมีหลากหลายธนาคารที่เปิดให้คู่รัก LGBTQ สามารถกู้ร่วมสินเชื่อบ้านได้ แต่ก็มีบางธนาคารที่ยังไม่ได้รองรับ โดยเงื่อนไขในการกู้ร่วมสำหรับ LGBTQ ก็จะมีเงื่อนไขหลัก ๆ แบบการกู้ร่วมแบบทั่วไป อย่าง ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป, ถือสัญชาติไทย, มีอาชีพการงานที่มั่นคง, มีเงินเดือนอยู่ในระดับขั้นต่อที่ธนาคารกำหนด, ไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน และไม่ติดเครดิตบูโร เป็นต้น ในบางธนาคารจะมีการขอเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นคู่รักเพิ่มเติมเพื่อการกู้บ้านร่วม

 อย่างเช่น

  • บัญชีธนาคารที่เปิดร่วมกัน
  • ทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัยร่วมกัน
  • เซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน
  • เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน 
  • รูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักจริง ๆ
  • ชื่อการกู้ร่วมซื้อทรัพย์สินอื่น ๆ ร่วมกัน เช่น รถยนต์ 
  • ต้องระบุในใบสมัครบริการสินเชื่อบ้านว่าผู้กู้ร่วมมีความสัมพันธ์เป็น “คู่รัก” กับผู้กู้หลัก

ส่วนในเรื่องของกรรมสิทธิ์ในการกู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รัก LGBTQ+ จะแบ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ 2 รูปแบบ คือ

  1. ใส่ชื่อคนคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
  2. ใส่ชื่อของผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

สำหรับกรรมสิทธิ์ในการกู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รัก LGBTQ+ ปัจจุบันธนาคารต่าง ๆ มักกำหนดเงื่อนไขสำหรับคู่รัก LGBTQ+ เป็นแบบในข้อ 2 ว่าจะต้องเป็นการกู้ร่วมแบบถือครองกรรมสิทธิ์ที่ใส่ชื่อของผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

ข้อดี และข้อควรระวังของการกู้ร่วมซื้อบ้าน

แน่นอนว่าหากเป็นเรื่องของการกู้ยืมนั้น มันก็ทั้งข้อดีและข้อที่ควรระวัง ดังนั้นควรตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขของสินเชื่อของธนาคารที่จะยื่นกู้ร่วมก่อนจะตัดสินใจเซ็นสัญญาเพื่อกู้ร่วมซื้อบ้าน นอกจากนี้ยังควรพิจารณาเรื่องการแบ่งชำระหนี้และมีความรับผิดชอบในการชำระหนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง ซึ่งด้านล่างนี้เราได้รวบรวมมาให้แล้วว่าการกู้ร่วมซื้อบ้านมีข้อดีและข้อควรระวังอย่างไร ใครที่อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถตามไปอ่านกันต่อได้เลย

ข้อดีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน 

ข้อควรระวังของการกู้ร่วมซื้อบ้าน 

1. จำนวนเงินกู้ได้สูงขึ้น 

การกู้ร่วมช่วยเพิ่มจำนวนเงินกู้ที่พร้อมใช้ได้ในการซื้อบ้าน ซึ่งในบางกรณีจะทำให้ซื้อบ้านได้ตามความต้องการได้ง่ายขึ้น

1. การมีหนี้สินร่วม

กู้ร่วมคือการมีหนี้สินร่วมกัน ถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินได้ คู่สมรสที่กู้ร่วมจะต้องรับผิดชอบและถูกดำเนินคดีเป็นผู้กู้หนี้เดียวกัน

2. ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อเป็นการกู้ร่วมจะทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในดอกเบี้ยได้มากขึ้น

2. การแบ่งแยกทรัพย์สิน ถ้าคู่สมรสแยกกันออกไป อาจเกิดความยุ่งยากในการแบ่งแยกทรัพย์สิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้สินร่วม

3. ไม่ต้องแบกภาระหนี้คนเดียว

เนื่องจากการกู้ร่วมเป็นการมีผู้ค้ำประกันร่วมเท่ากับว่าเรามีคนช่วยผ่อนชำระหนี้

3. การได้รับเครดิต การกู้ร่วมซื้อบ้านอาจช่วยให้คู่สมรสสร้างเครดิตได้เร็วขึ้น แต่ในกรณีที่มีประวัติเครดิตไม่ดี อาจจะทำให้ไม่สามารถขอกู้เงินได้

รวมวิธีแก้ปัญหาของการเลิกรากันเมื่อกู้ร่วมซื้อบ้าน

การเลิกกู้ร่วมซื้อบ้านอาจเกิดขึ้นเมื่อคู่สมรส หรือคู่รักต้องการย้ายออกไป หรืออาจเกิดจากเหตุผลอื่น ๆ เช่น การขายบ้าน การแต่งงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ สิ่งที่สำคัญคือต้องมีการยกเลิกสัญญากู้ร่วมให้ถูกต้อง โดยวิธีการแก้ปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้านเมื่อเลิกกัน สามารถทำได้ดังนี้ 

  • พูดคุยหาทางออกร่วมกัน  

ซึ่งก็คือการพูดคุยหาเพื่อทางออกร่วมกันว่าบ้านหลังนี้จะเก็บไว้และผ่อนต่อหรือไม่ หรือมีฝ่ายไหนที่อยากได้บ้านหลังนี้เก็บไว้ก็ต้องเป็นคนผ่อนต่อ 

  • ถอดชื่อผู้กู้ร่วม 

หากได้ฝ่ายที่จะผ่อนต่อแล้วให้ติดต่อธนาคาร เพื่อแจ้งความประสงค์ขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมออก โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี 

    • สำหรับคู่ที่จดทะเบียนสมรส นำใบหย่ามาแสดงต่อธนาคารเพื่อประกอบการเปลี่ยนสินเชื่อ เพื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว 
    • สำหรับคู่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แจ้งความประสงค์ขอถอนชื่อผู้กู้ร่วมออกด้วยกัน 

 

  • รีไฟแนนซ์บ้าน  

ทางออกนี้จะเป็นกรณีที่ถอดชื่อผู้ร่วมกู้ของการกู้ร่วมซื้อบ้านไม่สำเร็จ อาจเป็นในเรื่องของการประเมินความสามารถในการผ่อนคนเดียวไม่ไหว ดังนั้นการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นเพื่อพิจารณาการกู้แบบเดี่ยว ก็เป็นอีกทางออกหนึ่ง ซึ่งหากรีไฟแนนซ์ผ่านก็จะมีการจดจำนองใหม่ ทั้งยังมีเรื่องของค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาด้วย

  • ขายบ้าน 

หากทั้งฝ่ายผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมไม่อยากเก็บบ้านไว้ การขายบ้านก็เป็นอีกวิธีที่ดีกับทุกฝ่าย เพราะไม่ต้องเป็นภาระในการผ่อนต่อของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 


ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดเมื่อเกิดปัญหาที่ทำให้ต้องเลิกรากันก็คือการติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อเพื่อขอคำปรึกษาและขั้นตอนการยกเลิกสัญญา อย่างไรก็ตาม ก่อนการเลิกสัญญากู้บ้านร่วม ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการเลิกสัญญาและแบ่งแยกสินทรัพย์ รวมถึงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลดี ๆ ที่เราได้นำมาฝากสำหรับผู้ที่ต้องการกู้ร่วมซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับครอบครัว คู่รักแบบทั่วไป หรือคู่รัก LGBTQ+ เราหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือกู้บ้านร่วมไม่มากก็น้อย ซึ่งหากใครต้องการทราบรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับสินเชื่อในการกู้ร่วมซื้อบ้านเพิ่มเติม หรือบทความเกี่ยวกับเรื่องบ้านอื่น ๆ อย่าลืมรอติดตามบทความดี ๆ ฉบับหน้าของเรากันได้เลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage your privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save