Skip to content
Home » News » กู้ร่วมซื้อบ้าน อยากกู้ซื้อบ้านกับแฟนทำอย่างไรดี

กู้ร่วมซื้อบ้าน อยากกู้ซื้อบ้านกับแฟนทำอย่างไรดี

กู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคนที่ไม่สามารถกู้คนเดียวได้

กู้ร่วมซื้อบ้าน อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ไม่สามารถกู้คนเดียวได้

กู้ร่วมซื้อบ้านทำอย่างไรได้บ้าง? ปัจจุบันการกู้ร่วมคือทางเลือกในการขอสินเชื่อบ้านให้ธนาคารอนุมัติง่ายขึ้น ส่วนใหญ่การกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือการกู้บ้านร่วมกันจะได้รับความนิยมมาก ๆ ในกลุ่มคนที่มีแฟน มีคู่ชีวิต เนื่องจากเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นชีวิตคู่ สามารถสร้างเครดิตได้เร็วขึ้นและยังช่วยให้มีสิทธิ์ที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้ซื้อคนเดียว ทั้งนี้ยังเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่สามารถกู้คนเดียวได้ และยังเป็นทางเลือกสำหรับคู่รักที่ต้องการซื้อบ้านด้วยกันแต่มีเงินเพียงพอ แต่ด้วยการกู้ร่วมจะช่วยให้สามารถเข้าถึงเงื่อนไขเงินกู้ที่ดีขึ้นและจำนวนเงินกู้ที่สูงขึ้นได้ง่าย ๆ 

วันนี้เราจึงขอพาทุกคนที่อยากกู้ร่วมซื้อบ้านไปรู้จักกับการกู้ร่วมซื้อบ้านแบบเจาะลึก เพื่อให้คนที่กำลังอยากกู้ซื้อบ้านร่วมได้นำไปประกอบการตัดสินใจอย่างเหมาะสม เราพร้อมพาทุกคนไปคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับการกู้ร่วมว่ามีข้อดี-ข้อควรระวัง มีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อแตกต่างอย่างไร แบบไหนถึงจะตอบโจทย์มากที่สุด ใครอยากรู้เรื่องไหนตามไปอ่านกันได้เลย!

กู้ร่วมซื้อบ้านคืออะไร

การกู้ร่วมซื้อบ้านคือการกู้เงินซื้อบ้านร่วมกันโดยคู่สมรสหรือผู้ที่มีสายเลือดเดียวกัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับเงินกู้ที่สูงขึ้นและเพื่อเงื่อนไขที่ดีกว่าในการกู้เงินเพียงคนเดียว โดยการกู้ร่วมจะมีผู้กู้หลัก 1 คน ส่วนผู้กู้ร่วมมีสูงสุดได้ไม่เกิน 3 คน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งก่อนจะมีการกู้ร่วมซื้อบ้าน ทางธนาคารจะมีการประเมินความสามารถในการกู้และรายได้ของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ได้รับเงินกู้ตามความสามารถจริง ค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เกิดขึ้นจะถูกแบ่งแยกอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะช่วยลดภาระการผ่อนชำระหนี้ของแต่ละบุคคลลงได้เมื่อเปรียบเทียบกับการกู้เงินซื้อบ้านด้วยตนเองโดยไม่มีการร่วมกู้

กู้ร่วมซื้อบ้านทำร่วมกับใครได้บ้าง

การกู้บ้านร่วมสามารถทำร่วมได้กับคู่สมรสหรือผู้ที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อแม่กับลูก, พี่น้อง หรือเครือญาติของเรา เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งความสัมพันธ์ของผู้กู้ร่วมได้ง่าย ๆ เป็น 3 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

กู้ร่วมกับสายเลือดเดียวกัน

การกู้ร่วมซื้อบ้านสามารถทำได้กับผู้ที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อ-แม่, พี่-น้อง หรือเครือญาติของเราเอง แต่หากมีสายเลือดเดียวกันแต่ใช้คนละนามสกุลก็จะต้องแสดงเอกสารที่ระบุว่ามีบิดามารดาคนเดียวกัน หรือเป็นเครือญาติกัน เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้าน เป็นต้น

นายเอ มีเงินเดือน 35,000 บาท ต้องการซื้อบ้าน 3,000,000 บาท ซึ่งถ้าผ่อนคนเดียวก็จะตกเดือนละประมาณ 14,000 บาท (กู้เป็นระยะเวลา 30 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.5% ต่อปี) ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้านกับน้า (น้องสาวของแม่) เพราะคิดว่าถ้ากู้ซื้อคนเดียวจะหนักเกินไป 

ซึ่งน้ามีรายได้ 50,000 บาท เมื่อจะยื่นกู้ร่วมธนาคารจะมองว่าเป็นการขอสินเชื่อก้อนเดียวกัน โดยจะคำนวณจากเงินของทั้ง 2 คนรวมกัน นั่นคือ 85,000 บาท และเมื่อประเมินความสามารถในการแบกรับภาระหนี้ของรายได้ต่อเดือน (ไม่ควรเกิน 40%) จะเท่ากับ 32,000 บาท ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านสูงกว่าการกู้เพียงคนเดียว โดยก่อนที่จะยื่นกู้ร่วมจำเป็นต้องแสดงสูติบัตร หรือทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงว่าเป็นเครือญาติกัน

กู้ร่วมกับพี่น้องท้องเดียวกัน

การกู้ร่วมซื้อบ้านกับพี่น้องท้องเดียวกันในที่นี้ หมายถึงทั้งพี่น้องที่ใช้นามสกุลเดียวกันและพี่น้องที่ใช้คนละนามสกุลกัน ซึ่งหากเป็นคนละนามสกุลต้องแสดงเอกสาร อย่าง ทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตร เพื่อระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน

นายดี มีเงินเดือน 35,000 บาท ต้องการซื้อบ้าน 3,000,000 บาท ซึ่งถ้าผ่อนคนเดียวก็จะตกเดือนละประมาณ 14,000 บาท (กู้เป็นระยะเวลา 30 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.5% ต่อปี) ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้านกับน้อง (น้องใช้คนละนามสกุล) เพราะคิดว่าถ้ากู้ซื้อคนเดียวจะหนักเกินไป 

ซึ่งน้องมีรายได้ 30,000 บาท เมื่อจะยื่นกู้ร่วมธนาคารจะมองว่าเป็นการขอสินเชื่อก้อนเดียวกัน โดยจะคำนวณจากเงินของทั้ง 2 คนรวมกัน นั่นคือ 65,000 บาท และเมื่อประเมินความสามารถในการแบกรับภาระหนี้ของรายได้ต่อเดือน (ไม่ควรเกิน 40%) จะเท่ากับ 26,000 บาท ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านสูงกว่าการกู้เพียงคนเดียว โดยก่อนที่จะยื่นกู้ร่วมจำเป็นต้องแสดงสูติบัตร หรือทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงว่าเป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกัน

กู้ร่วมกับคู่สมรสกัน

การกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่สมรส หรือผู้ที่เป็นสามี-ภรรยากันนั้น สามารถกู้ร่วมได้ทั้งกับผู้ที่จดทะเบียนและผู้ที่ไม่ได้จดทะเบียน หากเป็นคู่สมรสกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนก็จะต้องนำเอกสาร หรือหลักฐานมา อย่าง ภาพถ่ายวันแต่งงาน หรือใบลงบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจที่ระบุว่าอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยามายื่นต่อธนาคารได้ แต่หากมีบุตรร่วมกันก็สามารถใช้สำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุชื่อของคู่สมรส หรือใบรับรองบุตรมายื่นเป็นหลักฐานได้ โดยการอนุมัติให้มีการกู้บ้านร่วมจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร

นายเอ็ม มีเงินเดือน 35,000 บาท ต้องการซื้อบ้าน 3,000,000 บาท ซึ่งถ้าผ่อนคนเดียวก็จะตกเดือนละประมาณ 14,000 บาท (กู้เป็นระยะเวลา 30 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.5% ต่อปี) ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้านกับภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว

ซึ่งภรรยามีรายได้ 30,000 บาท เมื่อจะยื่นกู้ร่วมธนาคารจะมองว่าเป็นการขอสินเชื่อก้อนเดียวกัน โดยจะคำนวณจากเงินของทั้ง 2 คนรวมกัน นั่นคือ 65,000 บาท และเมื่อประเมินความสามารถในการแบกรับภาระหนี้ของรายได้ต่อเดือน (ไม่ควรเกิน 40%) จะเท่ากับ 26,000 บาท ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านสูงกว่าการกู้เพียงคนเดียว

นอกจากนี้ ในปัจจุบันสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ก็สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้เช่นเดียวกับคู่รักทั่วไปและจะได้สิทธิเช่นเดียวกันกับคู่สมรสชาย-หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนกัน ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันความสัมพันธ์ตามที่แต่ละธนาคารกำหนด โดยข้อกำหนดจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารที่ยื่นกู้

กู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+

การกู้ร่วมสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ทางเลือกใหม่ของคนยุคใหม่

จริง ๆ แล้ว การกู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน หรือคู่รัก LGBTQ นั้นมีความแตกต่างกับการกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่สมรสที่จดทะเบียนอยู่เล็กน้อย ไม่ได้มีความแตกต่างกับคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสักเท่าไหร่ ถึงแม้ปัจจุบันจะมีหลากหลายธนาคารที่เปิดให้คู่รัก LGBTQ สามารถกู้ร่วมสินเชื่อบ้านได้ แต่ก็มีบางธนาคารที่ยังไม่ได้รองรับ โดยเงื่อนไขในการกู้ร่วมสำหรับ LGBTQ ก็จะมีเงื่อนไขหลัก ๆ แบบการกู้ร่วมแบบทั่วไป อย่าง ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป, ถือสัญชาติไทย, มีอาชีพการงานที่มั่นคง, มีเงินเดือนอยู่ในระดับขั้นต่อที่ธนาคารกำหนด, ไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน และไม่ติดเครดิตบูโร เป็นต้น ในบางธนาคารจะมีการขอเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นคู่รักเพิ่มเติมเพื่อการกู้บ้านร่วม

 อย่างเช่น

  • บัญชีธนาคารที่เปิดร่วมกัน
  • ทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัยร่วมกัน
  • เซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน
  • เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน 
  • รูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักจริง ๆ
  • ชื่อการกู้ร่วมซื้อทรัพย์สินอื่น ๆ ร่วมกัน เช่น รถยนต์ 
  • ต้องระบุในใบสมัครบริการสินเชื่อบ้านว่าผู้กู้ร่วมมีความสัมพันธ์เป็น “คู่รัก” กับผู้กู้หลัก

ส่วนในเรื่องของกรรมสิทธิ์ในการกู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รัก LGBTQ+ จะแบ่งผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ 2 รูปแบบ คือ

  1. ใส่ชื่อคนคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
  2. ใส่ชื่อของผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

สำหรับกรรมสิทธิ์ในการกู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รัก LGBTQ+ ปัจจุบันธนาคารต่าง ๆ มักกำหนดเงื่อนไขสำหรับคู่รัก LGBTQ+ เป็นแบบในข้อ 2 ว่าจะต้องเป็นการกู้ร่วมแบบถือครองกรรมสิทธิ์ที่ใส่ชื่อของผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

ข้อดี และข้อควรระวังของการกู้ร่วมซื้อบ้าน

แน่นอนว่าหากเป็นเรื่องของการกู้ยืมนั้น มันก็ทั้งข้อดีและข้อที่ควรระวัง ดังนั้นควรตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขของสินเชื่อของธนาคารที่จะยื่นกู้ร่วมก่อนจะตัดสินใจเซ็นสัญญาเพื่อกู้ร่วมซื้อบ้าน นอกจากนี้ยังควรพิจารณาเรื่องการแบ่งชำระหนี้และมีความรับผิดชอบในการชำระหนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง ซึ่งด้านล่างนี้เราได้รวบรวมมาให้แล้วว่าการกู้ร่วมซื้อบ้านมีข้อดีและข้อควรระวังอย่างไร ใครที่อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถตามไปอ่านกันต่อได้เลย

ข้อดีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน 

ข้อควรระวังของการกู้ร่วมซื้อบ้าน 

1. จำนวนเงินกู้ได้สูงขึ้น 

การกู้ร่วมช่วยเพิ่มจำนวนเงินกู้ที่พร้อมใช้ได้ในการซื้อบ้าน ซึ่งในบางกรณีจะทำให้ซื้อบ้านได้ตามความต้องการได้ง่ายขึ้น

1. การมีหนี้สินร่วม

กู้ร่วมคือการมีหนี้สินร่วมกัน ถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินได้ คู่สมรสที่กู้ร่วมจะต้องรับผิดชอบและถูกดำเนินคดีเป็นผู้กู้หนี้เดียวกัน

2. ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อเป็นการกู้ร่วมจะทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในดอกเบี้ยได้มากขึ้น

2. การแบ่งแยกทรัพย์สิน ถ้าคู่สมรสแยกกันออกไป อาจเกิดความยุ่งยากในการแบ่งแยกทรัพย์สิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้สินร่วม

3. ไม่ต้องแบกภาระหนี้คนเดียว

เนื่องจากการกู้ร่วมเป็นการมีผู้ค้ำประกันร่วมเท่ากับว่าเรามีคนช่วยผ่อนชำระหนี้

3. การได้รับเครดิต การกู้ร่วมซื้อบ้านอาจช่วยให้คู่สมรสสร้างเครดิตได้เร็วขึ้น แต่ในกรณีที่มีประวัติเครดิตไม่ดี อาจจะทำให้ไม่สามารถขอกู้เงินได้

รวมวิธีแก้ปัญหาของการเลิกรากันเมื่อกู้ร่วมซื้อบ้าน

การเลิกกู้ร่วมซื้อบ้านอาจเกิดขึ้นเมื่อคู่สมรส หรือคู่รักต้องการย้ายออกไป หรืออาจเกิดจากเหตุผลอื่น ๆ เช่น การขายบ้าน การแต่งงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ สิ่งที่สำคัญคือต้องมีการยกเลิกสัญญากู้ร่วมให้ถูกต้อง โดยวิธีการแก้ปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้านเมื่อเลิกกัน สามารถทำได้ดังนี้ 

  • พูดคุยหาทางออกร่วมกัน  

ซึ่งก็คือการพูดคุยหาเพื่อทางออกร่วมกันว่าบ้านหลังนี้จะเก็บไว้และผ่อนต่อหรือไม่ หรือมีฝ่ายไหนที่อยากได้บ้านหลังนี้เก็บไว้ก็ต้องเป็นคนผ่อนต่อ 

  • ถอดชื่อผู้กู้ร่วม 

หากได้ฝ่ายที่จะผ่อนต่อแล้วให้ติดต่อธนาคาร เพื่อแจ้งความประสงค์ขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมออก โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี 

    • สำหรับคู่ที่จดทะเบียนสมรส นำใบหย่ามาแสดงต่อธนาคารเพื่อประกอบการเปลี่ยนสินเชื่อ เพื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว 
    • สำหรับคู่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แจ้งความประสงค์ขอถอนชื่อผู้กู้ร่วมออกด้วยกัน 

 

  • รีไฟแนนซ์บ้าน  

ทางออกนี้จะเป็นกรณีที่ถอดชื่อผู้ร่วมกู้ของการกู้ร่วมซื้อบ้านไม่สำเร็จ อาจเป็นในเรื่องของการประเมินความสามารถในการผ่อนคนเดียวไม่ไหว ดังนั้นการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นเพื่อพิจารณาการกู้แบบเดี่ยว ก็เป็นอีกทางออกหนึ่ง ซึ่งหากรีไฟแนนซ์ผ่านก็จะมีการจดจำนองใหม่ ทั้งยังมีเรื่องของค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาด้วย

  • ขายบ้าน 

หากทั้งฝ่ายผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมไม่อยากเก็บบ้านไว้ การขายบ้านก็เป็นอีกวิธีที่ดีกับทุกฝ่าย เพราะไม่ต้องเป็นภาระในการผ่อนต่อของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 


ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดเมื่อเกิดปัญหาที่ทำให้ต้องเลิกรากันก็คือการติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อเพื่อขอคำปรึกษาและขั้นตอนการยกเลิกสัญญา อย่างไรก็ตาม ก่อนการเลิกสัญญากู้บ้านร่วม ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการเลิกสัญญาและแบ่งแยกสินทรัพย์ รวมถึงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลดี ๆ ที่เราได้นำมาฝากสำหรับผู้ที่ต้องการกู้ร่วมซื้อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับครอบครัว คู่รักแบบทั่วไป หรือคู่รัก LGBTQ+ เราหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือกู้บ้านร่วมไม่มากก็น้อย ซึ่งหากใครต้องการทราบรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับสินเชื่อในการกู้ร่วมซื้อบ้านเพิ่มเติม หรือบทความเกี่ยวกับเรื่องบ้านอื่น ๆ อย่าลืมรอติดตามบทความดี ๆ ฉบับหน้าของเรากันได้เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า