สารพัดเรื่องที่ต้องรู้หากต้องการซื้อขายบ้าน เจ้าของขายเอง
ซื้อขายบ้านเจ้าของขายเองเป็นการขายบ้านโดยไม่ผ่านนายหน้า ทำให้มาพร้อมกับข้อดีมากมายที่ผู้ที่อยากขายบ้านจะได้รับ อีกทั้งขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์และวิธีขายบ้านนั้นก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด!
วันนี้เราจึงได้รวมสารพัดเรื่องที่คุณต้องรู้หากต้องการซื้อขายบ้านเจ้าของขายเองมาให้ทุกคนได้นำไปใช้ในการซื้อขายบ้านของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อมก่อนการขายบ้าน ขั้นตอนการขายบ้าน และเอกสารที่ต้องเตรียม ซึ่งเราหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อคุณไม่มากก็น้อย
ข้อดีของการซื้อขายบ้านเจ้าของขายเอง
- ไม่เสียค่านายหน้า
- ไม่ต้องเสี่ยงโดนนายหน้าหลอกหรือเอาเปรียบ
- ติดต่อและพูดคุยกับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านได้โดยตรง
- สามารถเจรจาต่อรองเรื่องราคากับผู้ซื้อได้
เตรียมบ้านให้พร้อม! รวมสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องทำ..ก่อนขายบ้าน
สำหรับผู้ที่อยากขายบ้าน ก่อนเตรียมเอกสารขายบ้านเราขอแนะนำให้เตรียมบ้านให้พร้อมต่อการทำการซื้อขาย โดยมีสิ่งที่ต้องทำ 2 ข้อ คือ
1. ตรวจสอบให้ดี ว่าบ้านอยู่ในเงื่อนไขที่สามารถขายได้
เริ่มที่การตรวจสอบว่าบ้านที่ต้องการขายนั้นติดเงื่อนไขอะไรที่ทำให้ไม่สามารถทำการขายได้หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระยะเวลาในการครอบครองบ้าน การมีหนี้ค้างชำระต่อธนาคาร การมีพันธะต่างๆ กับทางธนาคาร การมีสิ่งต่างๆ ที่ติดค้างอยู่กับบริษัทประกันบ้าน รวมถึงตรวจสอบว่าเรามีคดีความต่างๆ ที่ยังค้างคากับเพื่อนบ้านอยู่หรือไม่ เพราะหากติดเงื่อนไขเหล่านี้ก็จะทำให้เราไม่สามารถบ้านได้นั่นเอง
2. ทำความสะอาด ปรับปรุงบ้าน
หากมั่นใจได้แล้วว่าบ้านนั้นไม่ติดพันธะหรือเงื่อนไขใดๆ ในขั้นตอนนี้คือการเตรียมบ้านให้ดูดีและพร้อมต่อการขายมากที่สุดเพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้ที่สนใจบ้านหรือผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบ้าน ซึ่งสิ่งที่ต้องทำก็คือการทำให้บ้านดูสวย สะอาดตา ไม่มีขยะหรือกลิ่นอับ ด้วยการเก็บกวาด เช็ดถู เปลี่ยนสิ่งที่สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณมาก เช่น หลอดไฟ ผ้าม่าน เป็นต้น
วิธีขายบ้าน ปลอดภัย ถูกกฎหมาย ใครก็ทำได้ 100%
เมื่อเตรียมบ้านพร้อมแล้ว หากต้องการซื้อขายบ้านเจ้าของขายเอง เจ้าของบ้านที่ต้องการขายสามารถทำตามขั้นตอนการขายบ้าน 4 ขั้นตอน ง่ายๆ ดังนี้
1. ลงประกาศขายบ้าน
การลงประกาศขายบ้านนั้นเป็นวิธีขายบ้านที่สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นติดป้ายประกาศแบบออฟไลน์หรือลงขายแบบออนไลน์ในช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งตัวอย่างของการลงประกาศบ้านผ่านทางออนไลน์ เช่น
- ลงประกาศขายบ้านในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของตัวเอง เช่น Facebook , Twitter , Instagram เป็นต้น
- ลงประกาศขายบ้านในกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
- ลงประกาศขายบ้านในเว็บไซต์ขายบ้าน
โดยผู้ที่อยากขายบ้านจะต้องนำเสนอรูปในส่วนต่างๆ ของบ้านอย่างสวยงาม ดึงดูด พร้อมลงรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ทำเลที่ตั้งของบ้าน เช่น บ้านจัดสรรบางปะกง ขนาดพื้นที่ของตัวบ้าน พื้นที่ใช้สอย ระบบสาธารณูปโภค ฟังก์ชันเสริมเพิ่มเติมของบ้าน และหากมีการระบุราคาไว้จะยิ่งดี เพราะจะทำให้ผู้ที่กำลังมองหาบ้านในราคานั้นๆ ตัดสินใจเลือกซื้อบ้านของเราได้ง่ายขึ้น
2. เจรจากับผู้ที่สนใจและต้องการซื้อบ้าน
เมื่อมีผู้ที่สนใจติดต่อเข้ามา ผู้ขายจะต้องพร้อมที่จะตอบคำถามและให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ที่สนใจ และนัดหมายเพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาดูสถานที่จริงหรือที่เรียกว่าการพาชมบ้านนั่นเอง โดยการพาชมบ้านที่เราต้องการขายด้วยตัวเองจะไม่มีนายหน้ามาแนะนำบ้านให้เรา เราจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและแนะนำสิ่งต่างๆ ให้บ้านมีความน่าสนใจ และสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่มีผู้ที่สนใจบ้านเข้ามายังบ้านที่เราต้องการขาย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้การซื้อขายบ้านเจ้าของขายเองประสบความสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. ทำสัญญาการซื้อขายบ้าน (สัญญาจะซื้อจะขาย)
เมื่อผู้ที่สนใจซื้อบ้านตกลงอย่างแน่นอนแล้วว่าจะซื้อบ้านที่เราต้องการขาย ในวิธีขายบ้านที่เรามาแนะนำนั้น จะต้องมีการนัดเพื่อทำสัญญาการซื้อขายบ้าน เพื่อป้องกันการโกงและเอาเปรียบซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นการยืนยันได้ว่าผู้ซื้อต้องการที่จะซื้อบ้านของเราจริงๆ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจตามมาในอนาคตหากไม่มีการทำสัญญาการซื้อขาย
รายละเอียดของสัญญาการซื้อขายบ้าน
ในสัญญาการจะซื้อจะขายบ้าน ผู้ที่อยากขายบ้านและผู้ซื้อจะต้องตกลงกันและทำการระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้ให้ครบถ้วนและชัดเจน
ซึ่งสิ่งที่ต้องมีในสัญญาซื้อขายบ้าน มีดังนี้
- วันที่ทำสัญญาซื้อขาย
- รายละเอียดของคู่สัญญา
- รายละเอียดสินทรัพย์
- ราคาซื้อขายและรายละเอียดการชำระเงิน
- ระบุโฉนดที่ดิน (น.ส. 4 จ.)
- ข้อตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายในวันโอน ณ สำนักงานที่ดิน
- ระยะเวลาของสัญญา และการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์
- ความรับผิดกรณีผิดสัญญา
รายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การรับประกันบ้าน รายละเอียดการยกเลิกสัญญา เป็นต้น
4. นัดหมายเพื่อทำการโอนบ้าน
ในขั้นตอนนี้คือการนัดหมายวันและเวลาในการเข้าโอนบ้านกับผู้ซื้อ ซึ่งต้องผ่านการยินยอมจากทั้งผู้ขาย ผู้ซื้อ ธนาคารฝั่งผู้ขาย และธนาคารฝั่งผู้ซื้อ จากนั้นให้เดินทางเข้าไปโอนบ้านตามวันเวลาที่ได้ตกลงกัน โดยผู้ที่ต้องการซื้อขายบ้านเจ้าของขายเองจะต้องจัดเตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อให้มีความสะดวก รวดเร็วในการดำเนินการมากที่สุด
ขั้นตอนการโอนบ้าน
การโอนกรรมสิทธิ์บ้านนั้นมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้
- ผู้ขายและผู้ซื้อมาเจอกันที่กรมที่ดินตามวันและเวลาที่ตกลงกันไว้
- ติดต่อเจ้าหน้าที่และกดรับบัตรคิว จากนั้นรอให้เจ้าหน้าที่เรียก
- ยื่นเอกสารขายบ้านและเซ็นเอกสารการโอนบ้านต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน
- เจ้าหน้าที่จะให้ใบประเมินทุนทรัพย์และค่าธรรมเนียมการโอน
- นำใบที่ได้รับไปชำระค่าโอนที่ฝ่ายการเงิน จะได้ใบเสร็จมา 2 ใบ 2 สี คือสีเหลืองและสีฟ้า
- ถ่ายสำเนาสีฟ้าเก็บไว้หนึ่งชุด นำสีเหลืองคืนเจ้าหน้าที่ที่เราเซ็นเอกสารต่อหน้าในข้อที่ 3
- เจ้าหน้าที่จะพิมพ์สลักโฉนด แล้วจึงมอบโฉนดและสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อและผู้ขาย
เอกสารการโอนบ้าน อยากขายบ้านต้องเตรียมเอกสารขายบ้านอะไรบ้าง ?
ในการขายบ้าน ผู้ที่ต้องการขายบ้านจะต้องเตรียมเอกสารขายบ้านหรือเอกสารในการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งเอกสารในการโอนกรรมสิทธิ์สำหรับเจ้าของบ้านที่ขายเองนั้น มีดังนี้
เอกสารในการโอนบ้านสำหรับบุคคลทั่วไป (สำหรับผู้ขาย)
- โฉนดที่ดินตัวจริง
- บัตรประชาชน (พร้อมสำเนา 1 ชุดที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
- ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา 1 ชุดที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง)
- เอกสารการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
- สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (กรณีสมรส)
- สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (กรณีสมรส)
- สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีสมรส)
- เอกสารให้ความยินยอมจากคู่สมรส (กรณีสมรส)
- สำเนาทะเบียนหย่า (กรณีหย่า)
- หนังสือมอบอำนาจ ทด.21 (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
เอกสารในการโอนบ้านสำหรับนิติบุคคล (สำหรับผู้ขาย)
- โฉนดที่ดินตัวจริง
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อายุไม่เกิน 1 เดือน
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น อายุไม่เกิน 1 เดือน
- รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- ใบปลอดภาระหนี้จากนิติบุคคล (กรณีห้องชุด)
สรุป 6 ขั้นตอนการขายบ้านของผู้ขาย
STEP 1 : ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
STEP 2 : รับเงินมัดจำจากผู้ซื้อ
STEP 3 : ให้สำเนาโฉนดที่ดินและสัญญาซื้อขายที่ดิน ทด.13 กับผู้ซื้อ เพื่อใช้ในการยื่นกู้กับทางธนาคาร
STEP 4 : นัดวันและเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์บ้าน
STEP 5 : เตรียมเอกสารขายบ้านหรือเอกสารในการโอนกรรมสิทธิ์บ้านและค่าใช้จ่ายให้พร้อม
STEP 6 : โอนกรรมสิทธิ์บ้านตามวันและเวลาที่ตกลงกัน
สิ้นสุดการซื้อขายบ้าน..หลังจากโอนกรรมสิทธิ์บ้าน ต้องทำอย่างไร?
เมื่อสิ้นสุดการซื้อขายบ้านเจ้าของขายเองด้วยการโอนกรรมสิทธิ์บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะมอบทะเบียนบ้านให้กับผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อได้ไปทำการย้ายทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขต ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ซื้อก็สามารถย้ายทะเบียนบ้านได้ง่ายๆ โดยการยื่นย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ เพื่อการดำเนินการที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
แต่หากผู้ขายไม่ได้ให้ทะเบียนบ้านไว้กับผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะต้องไปดำเนินการขอเล่มทะเบียนบ้านใหม่ที่สำนักงานเขตด้วยการนำ โฉนดกรรมสิทธิ์ หรือสัญญาซื้อขายที่ดิน (ท.ด.13) พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง
ไปยื่นที่สำนักงานเขตได้เลย (แต่หากเจ้าของเดิมยังไม่ย้ายชื่อออกหรือมีชื่อติดอยู่กับทะเบียนบ้าน จะต้องเจรจาให้ย้ายชื่อออกให้เรียบร้อยเสียก่อน)
จะเห็นได้ว่าการขายบ้านไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด!
ด้วยวิธีขายบ้านและข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ เราหวังว่าผู้ที่อยากขายบ้านด้วยการซื้อขายบ้านเจ้าของขายเองจะสามารถดำเนินการขายบ้านด้วยตนเองได้อย่างสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น หากมีข้อสงสัยหรือต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องราวของการซื้อขายบ้านเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามกับทาง มณีรินทร์ พร็อพเพอร์ตี้ ที่ช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลย!
—————————–
“มณีรินทร์ พร็อพเพอร์ตี้ (Maneerin Property)”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดตามโครงการบ้านชลบุรีราคาถูกได้ที่
Phone: 038-101-111
Website : https://www.maneerin.co.th/
Facebook: https://www.facebook.com/ManeerinProperty
Line OA : @maneerin / https://lin.ee/4Xbmgahzg